1. วิธีการ Create new account เพื่อใช้งาน Blynk เวอร์ชั่นเก่า
  2. DIY “โต๊ะตัดโฟม”จากอลูมิเนียมโปรไฟล์
  3. พาชมร้าน AIC ซุปเปอร์มาร์เก็ตสินค้าวิศวกรรมแห่งแรกในเมืองไทย!!
  4. มินิโปรเจค รถบังคับมือถือ Arduino ควบคุมผ่าน Blynk ทำเล่นเองได้ง่ายๆ
  5. โปรเจค Arduino ประตูสแกนลายนิ้วมือ เวอร์ชั่น 2
  6. รีวิวการใช้งาน Stepper Motor 28BYJ-48 with Arduino UNO
  7. สอนใช้งาน Arduino เซ็นเซอร์ตรวจจับควัน MQ-2 Smoke Sensor
  8. รีวิว สเตปมอเตอร์ Nema 17 17HS08 0.4A
  9. สอนใช้งานบอร์ดคอนโทรลมอเตอร์ L298N ควบคุมมอเตอร์ DC ผ่านแอพ Blynk
  10. การใช้งาน Matrix Keypad 3×4 ใส่ Password สั่งงาน Relay
  11. โปรเจคเครื่องแจ้งเตือนน้ำท่วมผ่านLINE พร้อมระบบสูบน้ำอัตโนมัติ คอนโทรลผ่านแอพ Blynk ได้ด้วย
  12. สาธิตการใช้งาน โมดูลนาฬิกา DS3231
  13. รีวว Motor Speed Controller 12-24 V 240 W 10A
  14. เตรียมเปิดตัวปีหน้า Apple Glasses แว่น AR/VR ตัวแรกของ Apple
  15. รีวิว ชุดควบคุมมอเตอร์ PWM DC Motor Controller 0-60V 60A
  16. รีวิวโมดูล A4988 Stepper Motor Driver
  17. สอนทำ NodeMCU ESP8266/ESP32 pin out active 3.3V to 5V
  18. เปลี่ยนปลั๊กไฟธรรมดาให้เป็น Smart Plug IoT
  19. มินิโปรเจค ตู้สาธิตคลื่นแสดงผลของคลื่นน้ำเวลากระทบชายฝั่ง
  20. มาทำความรู้จักกับ Smart Plug ปลั๊กไฟอัจฉริยะ
  21. รีวิวบอร์ด 3 Axis GRBL 1.1f CNC Controller
  22. โปรเจค DIY เครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติบนมือผ่านแอพพลิเคชั่น Blynk
  23. Smart Home Device 2022
  24. ถนนชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
  25. สอนใช้งาน Mini CNC รุ่น CNC-3018 เบื้องต้น
  26. IIoT กับ 6 อุตสาหกรรมที่มุ่งหน้าสู่รูปแบบดิจิทัล
  27. 5 Use Case ของ Computer Vision ในอุตสาหกรรมการผลิตแห่งปี 2022
  28. รีวิว Mini CNC รุ่น CNC-3018
  29. สอนใช้งาน Servo Tester ไม่ต้องเขียนโปรแกรมก็ใช้งานได้
  30. สอนใช้งาน Mini CNC รุ่น CNC3-3018Pro เบื้องต้น
  31. ย้อนอดีตจากยุคต้นกำเนิดรถยนต์ไฟฟ้า เมื่อกว่า 140 ปี สู่ รถพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเดินทางระยะไกลรุ่นแรกของโลก “LIGHTYEAR O”
  32. สอนใช้งาน Fingerprint Sensor รุ่น R307 กับ Arduino UNO
  33. รีวิว เครื่องMini CNC รุ่น CNC3-3018Pro
  34. มินิโปรเจค Arduino ทำประตูไฟฟ้าด้วยเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือกับกลอนแม่หล็กไฟฟ้า
  35. สอนใช้งานเซ็นเซอร์วัดความชื้นในดิน (Soil Moisture Sensor Module) ให้แสดงค่าในแอพ Blynk
  36. รีวิวบอร์ดควบคุมความเร็วสเต็ปมอเตอร์ : แบบไม่ต้องเขียนโปรแกรม ควบคุมความเร็วเป็นรอบได้
  37. รีวิว : ชุดเคลื่อนที่ 3 แกน Work Bee CNC
  38. รีวิว : ชุดเคลื่อนที่ 2 แกน ACRO Acrylic KIT Set with Motor
  39. โปรเจค DIY : รถตัดหญ้า ควบคุมบนมือถือผ่าน IoT
  40. รีวิวเครื่องแกะสลักเลเซอร์ VIGO VG-L7 ตอนที่ 2 วิธีการใช้งาน
  41. รีวิวเครื่องแกะสลักเลเซอร์ VIGO VG-L7 ตอนที่ 1 สเปค ข้อดีข้อด้อย
  42. รีวิวเครื่องแกะสลักเลเซอร์ NEJE MASTER 2S 20W ตอนที่ 2 แนะนำใช้งาน
  43. รีวิวเครื่องแกะสลักเลเซอร์ NEJE MASTER 2S 20W ตอนที่ 1 สเปคเครื่อง
  44. สอนใช้งาน Arduino UNO รับสัญญาณ AnalogInput จากตัวต้านทานปรับค่าได้ ปรับความสว่างหลอดไฟ LED และแสดงผลค่า Voltage ผ่านจอ LCD
  45. สอนการใช้งาน Ultrasonic Module HC-SR04 กับ Arduino UNO
  46. สอนใช้ Arduino : ต่อจอแอลซีดี 20×4 ผ่านพอร์ต I2C กับบอร์ด ARDUINO UNO
  47. สอนลงบอร์ด NodeMCU ESP32 กับโปรแกรม Arduino IDE
  48. สอนใช้งานเซ็นเซอร์วัดระดับน้ำฝน Rain/Water Detection Sensor Module กับ Arduino UNO
  49. สอนใช้งานโมดูลเซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุ IR Infrared กับ Arduino UNO
  50. สอนใช้งาน Sensor Water Level ให้แสดงค่าระดับน้ำในแอพ Blynk
  51. สอนควบคุม Servo Motor ด้วยแอพพลิเคชั่น Blynk
  52. รีวิวหุ่นยนต์วาดรูป Robot Drawing ตอนที่ 3 : การใช้งานโปรแกรม Openbuilds Control (ต่อ)
  53. สอนใช้งาน NodeMCU ESP8266 ส่งข้อความแจ้งเตือนผ่าน LINE Notify
  54. โปรเจคเครื่องซักผ้าแตะบัตร (RFID) มีการแจ้งเตือนผ่าน Line และส่งข้อมูลไปยัง Google Sheet
  55. สอนทำ Esp32 CAM เป็น Video Streaming บนแอพ Blynk
  56. สอนทำ WiFi Manager for NodeMCU
  57. รีวิวหุ่นยนต์วาดรูป Robot Drawing ตอนที่ 2 : การใช้งาน Openbuilds Control
  58. รีวิวหุ่นยนต์วาดรูป Robot Drawing ตอนที่ 1 : Setting
  59. Smart Farm โรงเรือนอัจฉริยะ
  60. สอนใช้งาน Arduino Uno ควบคุม Servo Moto รุ่น SG90
  61. การติดตั้ง Library สำหรับโปรแกรม Arduino IDE
  62. สอนการใช้งานบอร์ด Arduino UNO กับ RFID RC522 อ่านคีย์การ์ดควบคุมการเปิด-ปิดไฟ LED
  63. สอนการใช้งาน Arduino UNO กับเซ็นเซอร์ Water Level ควบคุมการเปิด-ปิดไฟ LED และส่งเสียงเตือนผ่าน ฺ
  64. สอนการใช้งาน LDR Module กับบอร์ด Arduino UNO ควบคุมการเปิด-ปิดหลอดไฟ LED
  65. สอนการใช้งาน LCD 16×2 พร้อม I2C Interface กับบอร์ด Arduino UNO
  66. สอนการใช้งาน NodeMCU ESP8266 กับโปรแกรม Arduino IDE
  67. สอนการใช้งาน ควบคุมระบบไฟในอาคาร ผ่านบอร์ด ESP8266 กับ RELAY MODULE 5V 4 CHANNEL ด้วยแอพ BLYNK
  68. การคำนวณค่าตัวต้านทาน เพื่อใช้กับหลอดไฟ LED
  69. Esp8266 & DHT11 To Blynk
  70. Arduino UNO & DHT11 To LCD
  71. มาทำความรู้จักกับ FarmBot หุ่นยนต์ปลูกผักสวนครัว
  72. Gartner เผย 12 เทรนด์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์แห่งอนาคตปี 2022
  73. Arduino UNO Mini Limited Edition
  74. Arduino Nano V.3 บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ที่จิ๋วแต่แจ๋ว
  75. ทำความรู้จักกับบอร์ด Arduino Mega 2560
  76. Xiaomi เปิดตัวลำโพง Soundbar 3.1 ch พร้อมซับวูฟเฟอร์ไร้สาย ที่ออกมาท้าชนแบรนด์ดังในไทย
  77. เผยสเปค Samsung Galaxy Tab A8 (2021) คาดเปิดตัวเร็ว ๆ นี้
  78. Xiaomi 12 Series เตรียมจับมือกับกล้อง Leica และมาพร้อมกับชิปเซ็ต Snapdragon 898 รุ่นแรกของโลก
  79. ทำความรู้จัก : บอร์ด ไมโครคอนโทรลเลอร์ ARDUINO UNO R3 คืออะไร ใช้งานอะไรได้บ้าง
  80. Arduino IDE คืออะไร มีวิธีการติดตั้งโปรแกรมอย่างไร และการใช้โปรแกรมยังไงกันนะ
  81. มอเตอร์ไฟฟ้าคืออะไร มีกี่ชนิด ใช้งานอย่างไร
  82. ทรานซิสเตอร์ (Transistor) คืออะไร มีหน้าที่อะไร และสามารถประยุกต์ใช้งานอะไรได้บ้างนะ
  83. Power Supply มีกี่ประเภท ประกอบด้วยอะไรบ้าง
  84. ตัวต้านทาน (resistor) คืออะไร มีหน้าที่อะไร และมีกี่ประเภท
  85. โปรเจค DIY : ชุดรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ ทำเล่นเองได้ง่ายๆ
  86. IC คืออะไร ใช้งานอย่างไร
  87. Photoresistor คืออะไร มีหลักการทำงานอย่างไร และนำไปใช้อะไรได้บ้าง
  88. Capacitor คืออะไร
  89. ไดโอด (Diode) คืออะไร มันนำไปใช้ทำอะไรกันนะ?
  90. เปิดตัวระบบ ColorOS 12
  91. Samsung Galaxy Watch 4
  92. Canon เปิดตัว RF5.2mm f/2.8L Dual Fisheye
  93. Hyundai เปิดตัวโดรนแท็กซี่ Hyundaix Uber
  94. Windows 11 เปิดให้ Update แล้ววันนี้
  95. Huawei เปิดตัว Matebook 14s
  96. สิ่งที่ต้องรู้ก่อนติดตั้ง Solar Cell
  97. TCL เปิดตัวแว่นตาอัจฉริยะ Thunderbird
  98. mRNA Vaccine
  99. 10 เทคโนโลยีที่น่าสนใจในปี 2021 จาก MIT
  100. ปัญญาประดิษฐ์ AI
  101. Lithium-Metal Battery อนาคตของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า

What is Solar Cell?

โซล่าเซลล์คืออะไร?

  • Solar cell คือเทคโนโลยีที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า ที่สามารถนำมาใช้เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • Solar cell จะมีอายุการใช้งาน 20-25 ปี และผลิตไฟฟ้าได้เฉพาะในเวลากลางวันและจะผลิตได้มากในที่ที่มีแดดจัดและกักเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ในแบตเตอร์รี่
  • พลังงานไฟฟ้าที่ได้จะอยู่ในรูปของไฟฟ้ากระแสตรง แต่พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้านเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ
  • ไม่สามารถนำพลังงานไฟฟ้าที่ Solar Cell ผลิตได้มาใช้งานได้ทันที ซึ่งจำเป็นต้องมีอินเวอร์เตอร์ (Inverter) เพื่อแปลงไฟฟ้ากระแสตรงให้อยู่ในรูปแบบของไฟฟ้ากระแสสลับ 220 V
  • ระยะเวลาการใช้งานจะใช้ได้นานแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับสัดส่วนปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้และปริมาณของการใช้พลังงานไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าในแต่ละชนิด

อินเวอร์เตอร์ (Inverter)

Type of Solar Cell

ประเภทของ Solar Cell

แบบโมโนคริสตัลไลน์ซิลิกอน (Monocrystalline Silicon)

ข้อดี

  • มีประสิทธิภาพสูงที่สุดซึ่งแผงชนิดนี้ทำมาจากแท่งซิลิกอนที่มีความบริสุทธิ์สูง
  • มีประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 18 -21%
  • ประหยัดพื้นที่

ข้อเสีย

  • มีราคาที่สูงมาก
  • ประสิทธิภาพการทำงานไม่ดีในสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูง

แบบโมโนคริสตัลไลน์ซิลิกอน (Monocrystalline Silicon)

แบบโพลีคริสตัลไลน์ซิลิกอน (Polycrystalline Silicon) 

ข้อดี

  • คุณภาพเกือบเทียบเท่าแบบโมโนคริสตัลไลน์ แต่ชนิดของซิลิกอนที่ใช้นั้นบริสุทธิ์น้อยกว่า
  • มีประสิทธิภาพในการทำงานเฉลี่ยอยู่ที่ 15 – 18%
  • มีประสิทธิภาพการทำงานในอุณหภูมิสูงดีกว่าชนิดโมโนคริสตัลไลน์
  • มีราคาที่ถูกกว่า

ข้อเสีย

  • ต้องใช้พื้นที่การติดตั้งที่มากกว่าชนิดโมโนคริสตัลไลน์เนื่องจากผลิตพลังงานไฟฟ้าได้น้อยกว่า

แบบโพลีคริสตัลไลน์ซิลิกอน (Polycrystalline Silicon)

แบบอะมอร์ฟัส (Amorphous)

กระบวนการผลิตแบบอะมอร์ฟัส  แตกต่างจากแบบโมโนคริสตัลไลน์และโพลีคริสตัลไลน์โดยสิ้นเชิง กระบวนการผลิตฟิลม์บางเป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างใหม่ มีใช้อยู่ประมาณ 5% ในตลาด

ข้อดี

  • ประสิทธิภาพเฉลี่ยในการผลิตพลังงานคือ 7-13%
  • มีกระบวนการผลิตที่ง่ายและสามารถผลิตได้ในจำนวนมาก
  • มีราคาที่ถูก
  • มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีในพื้นที่มีแสงน้อย

ข้อเสีย

  • เมื่อเทียบกับแบบโมโนคริสตัลไลน์และโพลีคริสตัลไลน์ปริมาณการผลิตโดยเฉลี่ยยังถือแบบอะมอร์ฟัสยังมีประสิทธิภาพต่ำที่สุด

แบบอะมอร์ฟัส (Amorphous)

System

ระบบการทำงานของ Solar Cell

ระบบออนกริด (On-Grid) เป็นการใช้พลังงานไฟฟ้าจาก Solar Cell ร่วมกันกับการใช้พลังงานจากการไฟฟ้า

  • ระบบนี้จะมีไฟฟ้าใช้ตลอดเวลา
  • ลดภาระค่าใช้จ่ายจากการเน้นใช้พลังงานไฟฟ้าจาก Solar Cell ในตอนกลางวันและสลับมาใช้พลังงานไฟฟ้าจากการไฟฟ้าในตอนกลางคืน
  • ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งมีราคาไม่สูงมาก
  • ไฟฟ้าที่ผลิตเหลือสามารถขายคืนให้กับทางภาครัฐได้แต่ทางผู้ใช้จะต้องทำสัญญากับทางภาครัฐตามขั้นตอน
  • เหมาะสมกับการใช้ในบ้านเรือนและอุตสาหกรรม

ระบบออนกริด (ON-Grid)

เครดิต : https://altpowersolution.com/service/off-grid-solar-system/

ระบบออฟกริด (Off-Grid) เป็นระบบที่จะไม่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้าแต่จะใช้งานร่วมกับแบตเตอร์รี่เพื่อกักเก็บพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินที่ Solar Cell ผลิตได้ในแต่ละวันไว้ใช้ในเวลากลางคืน

  • เหมาะสำหรับพื้นที่ที่การไฟฟ้ายังไม่สามารถเข้าถึงหรือจะเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้สำรองในกรณีไฟฟ้าดับ
  • เป็นระบบที่นิยมใช้น้อยกว่าแบบออนกริด
  • มีความซับซ้อนในการติดตั้ง
  • มีราคาในการติดตั้งค่อนข้างสูง
  • ต้องมีความแม่นยำในการคำนวณปริมาณการพลังงานไฟฟ้าที่สามารถผลิตได้ให้เพียงพอต่อการใช้พลังงานไฟฟ้าในแต่ละวัน

ระบบออฟกริด (OFF-Grid)

เครดิต : https://altpowersolution.com/service/off-grid-solar-system/

ระบบไฮบริด (Hybrid System) เป็นระบบที่นำเอาออนกริด (On-Grid) มารวมกับออฟกริด (Off-Grid)

  • เป็นระบบมีความเสถียรมาก
  • มีการใช้พลังงานไฟฟ้าจาก 3 แหล่ง คือ Solar Cell การไฟฟ้า และแบตเตอร์รี่ เมื่อแผง Solar Cell ได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ จะแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงแล้วส่งต่อมายังไฮบริดอินเวอร์เตอร์
  • ไม่เป็นที่นิยมใช้
  • ค่าติดตั้งและค่าซ่อมบำรุงค่อยข้างมีราคาสูง

ระบบไฮบริด (Hybrid System)

เครดิต : https://altpowersolution.com/service/off-grid-solar-system/

มาตรฐานต่างๆที่ Solar Cell ต้องผ่านการรองรับ

ระบบเซลล์แสงอาทิตย์ ระบบเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับติดตั้งบนหลังคาอาคาร ประกอบด้วยวัสดุ อุปกรณ์ ซึ่งมีคุณสมบัติเบื้องต้นอย่างน้อยดังนี้

1. คุณสมบัติเฉพาะของวัสดุ อุปกรณ์ของระบบ

1.1 แผงเซลล์แสงอาทิตย์ มีรายละเอียดดังนี้

1.1.1 กรณีเป็นแผงเซลล์ฯ ชนิด Crystalline silicon ควรเป็นยี่ห้อ รุ่นที่ได้รับการรับรอง มาตรฐาน มอก. 1843 หรือได้รับรองมาตรฐาน IEC 61215 Crystalline silicon terrestrial photovoltaic (PV) modules-Design qualification and type approval

1.1.2 กรณีเป็นแผงเซลล์ฯ ชนิด Thin film ควรเป็นยี่ห้อและรุ่นที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน มอก. 2210 หรือได้รับรองมาตรฐาน IEC 61646 Thin-film terrestrial photovoltaic (PV) modulesDesign qualification and type approval

1.1.3 ควรเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน มอก. 2580 หรือได้รับรองตาม มาตรฐาน IEC 61730 Photovoltaic (PV) module safety qualification หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติ เป็นไปตามมาตรฐาน มอก. 2580 หรือ IEC 61730 โดยมีรายงานผลการทดสอบที่ออกให้โดยห้องปฏิบัติการ ทดสอบที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน มอก. 17025 หรือได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 General requirements for the competence of testing and calibration laboratories แสดงยืนยัน

1.1.4 ควรมีสำเนาใบรับรอง (Certificate) ระบุการได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ตามข้อ 1.1.1 หรือข้อ 1.1.2 ที่ออกให้โดย Certification Body (CB.) แสดงประกอบ

 

1.2 โครงสร้างรองรับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ มีรายละเอียดดังนี้

1.2.1 วัสดุที่ใช้ท าโครงสร้างฯ ควรเป็นเหล็กเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (Hot dip galvanizing) ตามมาตรฐาน ASTM หรือเป็นโลหะปลอดสนิม

1.2.2 ส่วนประกอบโครงสร้างฯ ควรสามารถถอดออกเป็นชิ้นส่วนและประกอบได้อย่างสะดวก

1.2.3 วัสดุ อุปกรณ์จับยึดแผงเซลล์ฯ กับโครงสร้างฯ และอุปกรณ์จับยึดชุดโครงสร้างฯกับโครงสร้างหลังคาสถานที่ติดตั้ง ควรมีขนาดที่เหมาะสมและเป็นวัสดุที่ทำจากสแตนเลส (Stainless steel) หรือ โลหะปลอดสนิม

1.2.4 โครงสร้างฯ ควรสามารถติดตั้งแผงเซลล์ฯ ได้อย่างมั่นคง แข็งแรง และประกอบยึดกับ โครงสร้างหลังคาได้อย่างมั่นคง สามารถรับน้ำหนักและสามารถต้านทานแรงลมปะทะไม่น้อยกว่าความเร็ว สูงสุดของพายุโซนร้อน (Tropical storm) ตามประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยาได้อย่างปลอดภัย หรือสามารถต้านทานแรงลมปะทะตามข้อกำหนดของเทศบัญญัติหรือตามระเบียบที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานในพื้นที่ (ถ้ามี)

 

1.3 อุปกรณ์แปลงผันไฟฟ้าชนิดต่อกับระบบจำหน่าย (Grid connected Inverter) มีรายละเอียดดังนี้

1.3.1 เป็นยี่ห้อและรุ่นที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน IEC 61727 Photovoltaic (PV) systems -Characteristics of the utility interface และมาตรฐาน IEC 62116 Test procedure of islanding prevention measures for utility-interconnected photovoltaic inverters หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐาน IEC 61727 และ IEC 62116 โดยมีรายงานผลการทดสอบแสดงประกอบ

1.3.2 ควรมีสำเนาใบรับรอง (Certificate) การได้รับรองมาตรฐานตามข้อ 1.3.1 ที่ออกให้ โดย Certification Body (CB.) แสดงประกอบหรือมีรายงานผลการทดสอบ (Test Report) ที่แสดงคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานดังกล่าวที่ออกให้โดยห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน มอก. 17025 หรือได้รับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 General requirements for the competence of testing and calibration laboratories

1.3.3 มีคุณสมบัติเฉพาะทางไฟฟ้า (Electrical specification) เป็นไปตามระเบียบของ การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายว่าด้วยข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า พ.ศ. 2551 หรือระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยให้มีรายงานผลการทดสอบคุณสมบัติดังกล่าว ที่ออกให้โดยหน่วยงานทดสอบที่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายยอมรับ

 

1.4 วัสดุ อุปกรณ์ประกอบ มีรายละเอียดดังนี้

1.4.1 อุปกรณ์ควบคุมการตัด-ต่อวงจรด้านไฟฟ้ากระแสตรง

1) กรณีเป็น Safety switch มีรายละเอียดดังนี้

– เป็นชนิด Fusible Type 1 Phase 2 Wires หรือชนิดอื่นที่ดีกว่า

– โครงสร้างเป็นโลหะ มีฝาปิดที่ป้องกันการเปิดเมื่อคันโยกสวิทช์อยู่ตำแหน่ง ON

– ติดตั้งฟิวส์ชนิดไฟฟ้ากระแสตรง (DC Fuse) และพิกัดกระแสไฟฟ้า (Rated current) ไม่น้อยกว่า 1.25 เท่าของพิกัดกระแสลัดวงจร (Isc) ที่สภาวะ STC ของชุดแผงเซลล์ฯ

2) กรณีเป็น Circuit Breaker มีรายละเอียดดังนี้

– เป็นชนิด Molded case circuit breaker, MCCB

– เป็นผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐาน IEC 898 หรือ IEC 947-2 หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่าหรือดีกว่า

– มีพิกัดกระแส Ampere trip, AT ไม่น้อยกว่า 1.25 เท่าของพิกัดกระแสลัดวงจร (Isc) ที่สภาวะ STC ของชุดแผงเซลล์ฯ

1.4.2 อุปกรณ์ควบคุมการตัด-ต่อวงจรด้านไฟฟ้ากระแสสลับ มีรายละเอียดดังนี้

1) เป็นชนิด Molded case circuit breaker, MCCB 4

2) เป็นผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐาน IEC 898 หรือ IEC 947-2 หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่าหรือดีกว่า

3) มีพิกัดกระแส Ampere trip, AT ไม่น้อยกว่า 1.25 เท่า ของพิกัดกำลังไฟฟ้า (Rate power) ที่ Unity power factor ของอุปกรณ์แปลงไฟฟ้า ตามข้อ13.3

1.4.3 สายไฟฟ้า มีรายละเอียดดังนี้

1) เป็นสายไฟชนิด Photovoltaic wire ที่สามารถทนอุณหภูมิไม่น้อยกว่า 80◦C หรือเป็นสายไฟฟ้าชนิด 0.6/1 KV CV ตามมาตรฐาน IEC 60502 หรือสายชนิดอื่นที่มีคุณสมบัติดีกว่า

2) ด้านไฟฟ้ากระแสตรง มีขนาดทนกระแสสูงสุดได้ไม่น้อยกว่า 1.25 เท่า ของกระแสลัดวงจรของชุดแผงเซลล์ฯ (Isc) ที่สภาวะ STC. และเป็นไปตามเงื่อนไขกำหนดข้อ 2.7.1

3) ด้านไฟฟ้ากระแสสลับ มีขนาดทนกระแสสูงสุดได้ไม่น้อยกว่า 1.25 เท่า ของกระแสจ่ายออกที่พิกัดกำลังไฟฟ้า (Rated power) ที่ Unity power factor ของอุปกรณ์แปลงไฟฟ้า ตามข้อ 1.3 และเป็นไปตามเงื่อนไขกำหนดข้อ 2.7.2

1.4.4 ท่อร้อยสายไฟฟ้า มีรายละเอียดดังนี้

1) กรณีเป็นท่อ Polyethylene ควรเป็นท่อชนิดความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene Pipe, HDPE) ชั้นคุณภาพ PN 8 หรือดีกว่าและเป็นผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรอง มอก. 982

2) กรณีเป็นท่อโลหะ ควรเป็นชนิดท่อโลหะร้อยสายไฟฟ้า EMT หรือดีกว่า

1.4.5 กล่องรวมสาย (DC Junction Box) มีรายละเอียดดังนี้

1) เป็นกล่องโลหะหรือพลาสติกแข็ง ชนิดใช้งานกลางแจ้ง (Out door type)

2) สามารถป้องกันสิ่งรบกวนตาม Ingress Protection (IP) ที่ระดับ IP 45 หรือดีกว่า

3) ติดตั้งขั้วต่อสายไฟฟ้าภายในกล่องรวมสายอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เป็น ระเบียบ แข็งแรง และปลอดภัย

 

2. แนวทางการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

2.1 ผู้ดำเนินการติดตั้งต้องสำรวจพื้นที่จริงและออกแบบรายละเอียดการติดตั้งระบบ Solar PV Rooftop โดยให้มีรายละเอียดแสดง ประกอบด้วย Shop drawing บัญชีแสดงรายการวัสดุ อุปกรณ์ที่ระบุ ยี่ห้อ รุ่น พร้อม Catalog ของวัสดุ อุปกรณ์ที่แสดงคุณสมบัติตามเงื่อนไขกำหนด รวมทั้งเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและรายการคำนวณที่จำเป็น

2.2 การออกแบบรายละเอียดการติดตั้งระบบ Solar PV Rooftop และการจัดทำ Shop drawing รวมทั้งรายการคำนวณที่เกี่ยวข้อง ต้องดำเนินการและลงนามรับรองความถูกต้องโดยวิศวกรผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมจากสภาวิศวกร

2.3 การออกแบบติดตั้งแผงเซลล์ฯ ควรให้ด้านรับแสงอาทิตย์ของแผงเซลล์ฯ หันไปทางทิศใต้หรือทิศใกล้เคียงทิศใต้ที่สามารถยอมรับได้ และวางเอียงทำมุมกับแนวระนาบทิศเหนือ-ใต้ ประมาณ 10-20 องศา หรือตามแนวลาดเอียงของหลังคาอาคารเป้าหมาย ตำแหน่งติดตั้งแผงเซลล์ฯ ควรอยู่ในพื้นที่โล่งและไม่เกิดการบังเงาบนแผงเซลล์ฯ ที่อาจก่อให้เกิด Hot spot และการติดตั้งชุดแผงเซลล์ฯ ควรมีความมั่นคง แข็งแรงและสามารถดูแลบำรุงรักษาได้

2.4 การต่อวงจรชุดแผงเซลล์ฯ ควรเป็นไปตามหลักวิชาการและให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยที่ดี โดยอ้างอิงตามมาตรฐาน มอก. 2572 การติดตั้งทางไฟฟ้า–ระบบจ่ายกำลังไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์หรือตามมาตรฐาน IEC 60364-7-712 Requirements for special installations or locations – Solar photovoltaic (PV) power supply systems หรือตามคู่มือแนะนำการติดตั้งแผงเซลล์ฯของผู้ผลิต (ถ้ามี)

2.5 การเดินสายไฟฟ้าระหว่างแผงเซลล์ฯ ให้ใช้สายไฟฟ้าที่ติดตั้งมาพร้อมกับ Terminal box ของแผงเซลล์ฯ และต่อวงจรให้ถูกต้อง แข็งแรง หรือใช้สายไฟฟ้าชนิด Photovoltaic wire หรือเป็นสายไฟฟ้า ชนิด CV 0.6/1 KV หรือดีกว่า ขนาดควรไม่น้อยกว่า 2.5 sq.mm. หรือขนาดสายตามคู่มือแนะนำของผู้ผลิต (ถ้ามี) และการต่อสายไฟฟ้าควรใช้ขั้วต่อสายชนิด PV connector หรือแบบอื่นที่มั่นคง แข็งแรงไม่ด้อยกว่า

2.6 ชุดแผงเซลล์ฯ และอุปกรณ์ของระบบฯ ทุกรายการที่มีโครงสร้างเป็นโลหะและหรือ อุปกรณ์ ที่ระบุให้มีการต่อสายดินจะต้องต่อวงจรสายดินให้ครบถ้วน โดยให้ดำเนินการตามหลักวิชาการ หรือ อ้างอิงตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2545 (ฉบับแก้ไขปรับปรุง พ.ศ. 2551) ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย

2.7 การกำหนดขนาดสายไฟฟ้า ต้องมีพิกัดทนกระแสไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 1.25 เท่าของกระแส สูงสุดผ่านวงจรและมีค่าแรงดันสูญเสียในสายไฟฟ้า (Voltage drop) ไม่เกินข้อกำาหนดดังนี้

2.7.1 ด้านระบบไฟฟ้ากระแสตรง (DC Side) กำหนดให้ขนาดสายไฟฟ้าจากชุดแผงเซลล์ฯ แต่ละสาขา (PV string) ถึงอุปกรณ์แปลงผันไฟฟ้า (Inverter) มีค่าแรงดันไฟฟ้าสูญเสียในสายไม่เกิน ร้อยละ 3 ที่พิกัดจ่ายกระแสไฟฟ้าสูงสุด (Imp) ของชุดแผงเซลล์ฯ โดยเทียบกับค่าแรงดันสูงสุด (Vmp) ของชุดแผงเซลล์ฯ ที่สภาวะ STC.

2.7.2 ด้านระบบไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Side) กำหนดให้ขนาดสายไฟฟ้าจาก Output ของอุปกรณ์แปลงผันไฟฟ้าถึงจุดเชื่อมต่อกับสายระบบจำหน่ายของการไฟฟ้า มีแรงดันไฟฟ้าสูญเสียในสายไม่เกินร้อยละ 3 โดยเทียบกับค่าแรงดันไฟฟ้าด้าน Output ตามพิกัดที่ Unity power factor ของอุปกรณ์แปลงผันไฟฟ้าตามข้อ 1.3

2.8 สายไฟฟ้าของระบบมีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อ 1.4.3 (ยกเว้น ข้อ 2.11 การใช้สายไฟฟ้า และลักษณะการเดินสายไฟฟ้าให้เป็นไปตามระเบียบ/ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย) ลักษณะการเดินสายต้องเป็นระเบียบและถูกต้องตามหลักวิชาการโดยอ้างอิงตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า 6 สำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2545 (ฉบับแก้ไขปรับปรุง พ.ศ. 2551) ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย หรือ ตามระเบียบ/ข้อกำหนดที่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายยอมรับ

2.9 กรณีเดินสายภายในท่อร้อยสายไฟฟ้า ให้ใช้ท่อร้อยสายไฟฟ้าชนิด HDPE หรือดีกว่า สำหรับสายไฟฟ้าภายนอกอาคาร และใช้ท่อโลหะชนิด EMT หรือดีกว่า สำหรับสายไฟฟ้าภายในอาคาร

2.10 การติดตั้งอุปกรณ์ประกอบระบบทุกรายการควรเป็นระเบียบ สวยงาม สามารถใช้งาน หรือตรวจสอบได้สะดวก การต่อสายไฟฟ้าของระบบต้องยึดด้วยขั้วต่อสายทางไฟฟ้าที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ มั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย

2.11 กรณีระบบ Solar PV Rooftop มีกำลังไฟฟ้าจ่ายออก (Out put Power) อยู่ในพิกัดที่ต้องเชื่อมต่อกับระบบแรงสูงตามระเบียบของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ว่าด้วยข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า พ.ศ. 2551 และหรือระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้ดำเนินการติดตั้งต้องจัดหาอุปกรณ์ประกอบ ระบบให้ครบถ้วนและมีคุณสมบัติถูกต้องตามเงื่อนไขในการเชื่อมต่อกับระบบแรงสูงที่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายยอมรับและดำเนินการติดตั้งให้ถูกต้องตามระเบียบ/ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง

2.12 เมื่อติดตั้งระบบ Solar PV Rooftop แล้วเสร็จ ผู้ดำเนินการติดตั้งต้องให้มีวิศวกรผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมจากสภาวิศวกร ดำเนินการตรวจสอบการติดตั้งระบบถูกต้อง ปลอดภัยตามหลักวิชาการและการใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติถูกต้องตรงตามข้อกำหนดและให้มีเอกสารลงนามรับรองผลการตรวจสอบโดยวิศวกรดังกล่าว

2.13 ผู้ดำเนินการติดตั้งต้องประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการอนุญาตเชื่อมต่อระบบ Solar PV Rooftop กับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายให้แล้วเสร็จ และให้มีวิศวกรไฟฟ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาไฟฟ้างานไฟฟ้ากำลังจากสภาวิศวกร ดำเนินการทดสอบการทำงานของระบบให้เป็นไปตามเงื่อนไขข้อกำหนด/ระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดงให้ผู้รับการติดตั้งเห็นว่าระบบสามารถทำงานผลิตไฟฟ้าได้

2.14 ผู้ดำเนินการติดตั้งต้องจัดให้มีคู่มือแนะนำการใช้งานและการดูแลบำรุงรักษาระบบเบื้องต้น พร้อมทั้งดำเนินการแนะนำผู้รับการติดตั้งทราบขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการเดินเครื่องระบบ การตรวจสอบระบบเบื้องต้น และให้มีรายละเอียดสำหรับการติดต่อกับผู้ดำเนินการติดตั้งเพื่อการแจ้งตรวจซ่อมระบบ กรณีเกิดความผิดปกติหรือชำรุด

2.15 ผู้ดำเนินการติดตั้งต้องรับประกันคุณภาพการใช้งานระบบ Solar PV Rooftop หลังจากวันส่งมอบระบบที่ติดตั้งและทดสอบการทำงานจริงแล้วเสร็จ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยในระยะเวลารับประกันดังกล่าว ผู้ดำเนินการติดตั้งต้องรับผิดชอบในการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนวัสดุ อุปกรณ์ที่เกิดการชำรุด เสียหายจากการใช้งานตามปกติ โดยไม่สามารถคิดค่าใช้จ่ายจากผู้รับการติดตั้งแต่อย่างใด

CONCLUTION

การใช้พลังงานไฟฟ้าจาก Solar Cell สามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้าได้จริงในระยะยาวและสามารถสร้างกำไรได้จากการขายพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินที่ Solar Cell ผลิตได้ให้แก่ภาครัฐได้ถึง 2.2 บาท/หน่วย พร้อมทั้งประโยชน์ต่อการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ทุรกันดาน ให้สามารถเข้าถึงการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ทั้งในด้านความเป็นอยู่และด้านการศึกษา Solar Cell จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถตอบสนองต่อความขาดแคลนเหล่านี้ได้ ซึ่งการทำงานของ Solar Cell ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นการนำพลังงานจากธรรมชาติที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก
https;//www.electric.co.th
https//legatoo.com
https://altpowersolution.com/service/off-grid-solar-system/
https://www.erc.or.th/ERCWeb2/Upload/Document/
Banner Content
Tags: , , , ,

Related Article

No Related Article

0 Comments

Leave a Comment